Author name: The SciClinist

Uncategorized

เมื่อหุ่นยนต์ผ่าตัดขนาดพกพา… เคยขึ้นไปทดลองในอวกาศ แต่วันนี้… มันเตรียมจะลงมาผ่าตัดคนธรรมดาบนโลก

“Mira” หุ่นยนต์ผ่าตัดขนาดเล็กจากบริษัท Virtual Incision เคยเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติกับ NASAเพื่อพิสูจน์ว่า… มนุษย์สามารถผ่าตัดจากระยะไกลได้จริง แม้จะอยู่คนละโลก ล่าสุด — บริษัทประกาศตั้ง CEO คนใหม่ Jim Alecxih อดีตผู้ผลักดันหุ่น da Vinci ให้ดังทั่วโลก เตรียมนำหุ่น “M2” รุ่นถัดไปเข้าสู่กระบวนการขอ FDA เพื่อใช้ผ่าตัดในวงกว้าง หุ่นยนต์ตัวนี้ ต่างจาก da Vinci ตรงไหน?เล็กพอจะ “พกใส่กระเป๋าเดินทาง” เป็น single-port system (เจาะแค่รูเดียว) ออกแบบให้ใช้ใน “พื้นที่จำกัด” เช่น ห้องฉุกเฉินในเมืองเล็ก เป้าหมาย: ให้หุ่นผ่าตัดขั้นสูง “เข้าถึงได้” โดยไม่ต้องมีงบหลายร้อยล้าน และน่าสนใจกว่านั้น… คนที่เคยขาย da Vinci ให้โรงพยาบาลทั่วอเมริกาตอนนี้ กลับมาเป็นผู้นำบริษัทคู่แข่งโดยตรง ยุคใหม่ของการผ่าตัด อาจไม่ใช่ห้องผ่าตัดล้ำสมัยในโรงพยาบาลใหญ่แต่อาจเป็นหุ่นเล็ก ๆ ที่ถูกส่งขึ้นยาน… หรือมาจอดอยู่ข้างเตียงคุณแม่เราในชุมชน คำถามที่ควรเริ่มถามตั้งแต่วันนี้ เมื่อ “หุ่นยนต์” เข้ามาทำหน้าที่แทนศัลยแพทย์มากขึ้นเรื่อย ๆเราควรไว้ใจมันแค่ไหน?และโรงพยาบาลใดบ้าง… ที่จะเป็นเจ้าแรกในไทยที่กล้าลอง?

Uncategorized

8 ขั้นตอนดูแล สุขภาพกระเพาะเชิงกราน ให้เหมาะกับทุกช่วงวัย

1. เข้าใจ “กระเพาะเชิงกราน” (Pelvic Floor) คืออะไร เป็นเหมือน “แผ่นกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน” ที่รองรับกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ และถุงน้ำคร่ำยังมีบทบาทกับการควบคุมการขับถ่าย การมีเพศสัมพันธ์ และสุขภาพทางเพศ-สืบพันธุ์“หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองมีมัน…จนกระทั่งเริ่มมีอาการ” 2. สัญญาณเตือนว่าอาจต้องใส่ใจ ปัสสาวะเล็ดเวลาไอ/หัวเราะเกร็งปัสสาวะหรือถ่ายลำบากมีอาการเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ท้องผูก ปัสสาวะพอตัว หรือมีความรู้สึกหนัก ๆ ในอุ้งเชิงกรานอาการเหล่านี้พบบ่อยหลังคลอดหรือวัยทอง แต่ไม่ควรนิ่งเฉย 3. การ Kegel ไม่ใช่สำหรับทุกคน Kegel ช่วยถ้า “กล้ามเนื้ออ่อน” แต่ถ้าเครียดหรือเกร็งมากเกิน อาจยิ่งแย่อุ้งเชิงกรานที่ตึงเกิน = ยิ่งควรผ่อนคลาย ไม่ใช่ฝึกให้แข็งเพิ่ม 4. “หายใจ” คือกุญแจสำคัญ หายใจลึก (diaphragmatic breathing) ให้ผนังหน้าท้องคลาย เมื่อหายใจออกอุ้งเชิงกรานจะหดแนะนำให้ “หายใจออกตอนออกแรง” เช่น เวลายกของหรือออกกำลังกาย 5. นิสัยเวลาเข้าห้องน้ำก็สำคัญ นั่งเต็มก้น ไม่ยืนเกร็ง → ช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อพยายามถอนการเกร็งเวลาปัสสาวะใช้เก้าอี้เสริมเวลาถ่าย เพื่อปรับมุมที่ช่วยให้ถ่ายง่ายหายใจออกขณะถ่าย ลดการเกร็งค้างที่อุ้งเชิงกราน 6. ปรับตามอายุ-ภาวะในชีวิต วัยรุ่น–วัยสาว: อาการปวดประจำเดือนหรือการใช้แทมปอนอาจกระตุ้นภาวะตึงเกินตั้งครรภ์–หลังคลอด: กล้ามเนื้อยืดมาก แนะนำทำกายภาพกระเพาะเชิงกรานควบคู่การตรวจหลังคลอดวัยทอง: ฮอร์โมนลด เซลล์ผนังช่องคลอดบางขึ้น แนะนำเสริมครีม estrogen+ออกกำลังเฉพาะกล้ามเนื้อเชิงกราน 7. ต้องเปลี่ยนระบบดูแลทั้งระดับบุคคลและสังคม Reardon ส่งเสริมให้มีการตรวจฟื้นฟูอุ้งเชิงกรานในผู้หญิงตั้งแต่ตั้งครรภ์จนหลังคลอดมองว่า “กายภาพหลังคลอดควรเป็นมาตรฐาน ไม่ใช่ทางเลือก” 8. สรุปสาระใจความ: ดูแลอุ้งเชิงกราน = ดูแลคุณภาพชีวิต ไม่ว่าจะนอนหลับดี ใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีความสุขทางเพศการอุ้งเชิงกรานแข็งแรง = คือพื้นฐานที่คุณจะไม่รู้สึกว่าร่างกายคุณ “เสียสมดุล” ในชีวิต

Uncategorized

ตรวจ DNA ทารกแรกเกิดทั่วอังกฤษ: “ก้าวใหม่ของการแพทย์เชิงป้องกัน หรือโลกแห่งการออกแบบมนุษย์?”​

รัฐบาลอังกฤษประกาศแผน “ทะเยอทะยานที่สุดในประวัติศาสตร์” เตรียมตรวจ Whole Genome Sequencing ให้กับ ทารกแรกเกิดทุกคน ภายใน 10 ปี แผนใหญ่ที่เพิ่งเปิดตัวในกลางปี 2025:นำโดย Genomics England ภายใต้กระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ งบประมาณกว่า 650 ล้านปอนด์ (≈ 3 หมื่นล้านบาท) เป้าหมายคือการ ป้องกันโรคเรื้อรังแต่เนิ่น ๆ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ ตรวจอะไร? ได้รู้อะไร? เด็ก 1 คน → ถอดรหัส DNA กว่า 20,000 ยีนแบบละเอียดเพื่อประเมินความเสี่ยงโรค เช่นมะเร็งเต้านม/รังไข่ (BRCA)โรคเมตาบอลิซึมหายากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงความผิดปกติทางพันธุกรรมที่รักษาได้หากรู้ก่อนและทั้งหมดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ “วันแรกที่เด็กเกิด” ความหวัง vs. ความกังวล ป้องกันโรคก่อนเกิดอาการ /ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล DNAวางแผนสุขภาพเฉพาะบุคคล /ความเหลื่อมล้ำ: ใครจะได้สิทธิ์ก่อน?ลดภาระงบประมาณรักษาโรคเรื้อรัง/ เสี่ยงถูกใช้ข้อมูลไปเพื่อ “เลือกพันธุกรรม แล้วไทยล่ะ? แม้ไทยยังไม่มีแผนระดับนี้ แต่การตรวจ DNA screening ในเด็กแรกเกิด เริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเอกชน และในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำหลายแห่ง คำถามสำคัญคือ… ถ้าเราสามารถ “รู้อนาคตทางสุขภาพของลูกเราได้ตั้งแต่แรกเกิด”เราควรทำไหม?

Uncategorized

7 กีฬาที่ช่วยให้ “อายุยืน ยืดชีวิตคุณได้มากถึง 9 ปี

7 กีฬาที่ช่วยให้ “อายุยืน ยืดชีวิตคุณได้มากถึง 9 ปี งานวิจัยระยะยาว 25 ปีพบว่า…การ “เลือกชนิดกีฬา” อาจช่วยยืดชีวิตคุณได้มากถึง 9 ปีโดยเฉพาะถ้ากีฬาเหล่านั้น “กระตุ้นร่างกาย สมอง และหัวใจในเวลาเดียวกัน”  งานวิจัยนี้มาจากไหน?-โครงการวิจัย The Copenhagen City Heart Study-ตีพิมพ์ใน Mayo Clinic Proceedings (2018)-ศึกษาคนเดนมาร์ก 8,577 คน อายุเฉลี่ย 44 ปี นานกว่า 25 ปี-วัดผลกระทบของกีฬาชนิดต่าง ๆ ต่ออายุขัย-เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายเลย อายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นตามชนิดกีฬา1.เทนนิส = อายุยืนขึ้นเฉลี่ย 9.7 ปีเพราะต้องคิดเร็ว วิ่งเร็ว เล่นกับคนอื่น → สมองดี หัวใจแกร่ง 2.แบดมินตัน = อายุยืนขึ้น 6.2 ปีเคลื่อนไหวไว เผาผลาญแรง และมีคู่ซ้อมช่วยเติมพลังใจ 3.ฟุตบอล = อายุยืนขึ้น 4.7 ปีวิ่งเป็นทีม เบิร์นทั้งร่าง ได้ความสัมพันธ์ ได้หัวใจแข็งแรง 4.ปั่นจักรยาน = อายุยืนขึ้น 3.7 ปีหัวใจอึด เผาผลาญดี ไม่กระแทกข้อ เล่นได้ยันวัย 70+ 5.ว่ายน้ำ = อายุยืนขึ้น 3.4 ปีฝึกกล้ามเนื้อทุกส่วน น้ำช่วยลดแรงกระแทก ฟื้นฟูร่างได้ดี 6.จ๊อกกิ้ง = อายุยืนขึ้น 3.2 ปีอิสระ วิ่งได้ทุกที่ ช่วยเรื่องระบบเผาผลาญและอารมณ์ 7.คาลิสเธนิกส์ = อายุยืนขึ้น 3.1 ปีใช้แค่น้ำหนักตัว ฝึกความยืดหยุ่น กล้ามเนือแกนกลาง 🔬 ทำไม “เทนนิส” ถึงได้ผลดีที่สุด?High-intensity + Intermittent Movement→ เป็นกีฬาที่ให้แรงกระตุ้นหัวใจสลับเร็ว-ช้า ช่วยเพิ่ม VO₂ max และระบบเผาผลาญ Cognitive Demand สูง→ ต้องประเมินตำแหน่งลูก ความเร็วคู่ต่อสู้ ตัดสินใจเร็ว → ฝึกสมองเหมือน “เกมหมากรุกแบบเคลื่อนไหว” Social Bonding ลึก→ เทนนิสเล่นเป็นคู่ (doubles) มีการพูดคุย วางแผน สื่อสาร = ลดความเครียด + สร้างความสัมพันธ์ เล่นได้จนถึงวัย 60–70 ปี→ หากเลือก court และคู่ซ้อมที่เหมาะกับอายุ/ระดับ → เป็นกิจกรรมระยะยาวที่ยั่งยืน เพิ่มเติมจากงานวิจัยญี่ปุ่น (BMC Public Health, 2019):ผู้ที่ออกกำลังกายกับเพื่อน/ครอบครัวมีแนวโน้ม มีสุขภาพจิตและอายุขัยที่ดีกว่า คนที่ออกกำลังกายคนเดียว ปัจจัย “สังคม” = ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ, ซึมเศร้า, ภูมิคุ้มกันต่ำ ถ้าอยาก “อายุยืนแบบยั่งยืน”อย่าเลือกแค่กีฬาที่เบิร์นแรงที่สุดแต่จงเลือกกีฬาที่ “คุณอยากเล่นทุกสัปดาห์”และ…มีคนที่คุณอยากเล่นด้วย

Uncategorized

ถ้าคุณไม่ลงทุนในการดูแลสุขภาพวันนี้…อีก 10 ปีข้างหน้า คุณอาจต้องจ่ายแพงขึ้นกว่าที่คิด — ทั้งเงิน เวลา และคุณภาพชีวิต

ากงานวิจัยของ American Journal of Preventive Medicine พบว่า 80% ของโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ มะเร็งบางชนิด สามารถป้องกันได้ด้วยการ “ดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน” ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่รู้ไหมครับว่า…  คนส่วนใหญ่กลับเลือกละเลยสุขภาพในวัยทำงานแล้วพยายามมา “ซ่อมแซม” ในวัย 40-50 ด้วยค่ารักษาที่สูงขึ้นทุกปี คุณกำลังเสียอะไรไป โดยที่ไม่รู้ตัว?ไม่ลงทุนวันนี้-นอนน้อย พักไม่พอ-ไม่ออกกำลังกาย-กินอาหารแปรรูปทุกวัน-ไม่ตรวจสุขภาพเลย สิ่งที่จะต้องจ่ายในอนาคต-เสี่ยงสมองล้า เครียดเรื้อรัง-กล้ามเนื้ออ่อนแรง เร็วกว่าปกติ-เสี่ยงอ้วนลงพุง เบาหวาน ความดัน-เจอโรคร้าย…ตอนสายเกินไป  “ใช้ชีวิตแบบหักโหม” ส่งผลต่อเซลล์ลึกกว่าที่คุณคิดมีงานวิจัยจาก Harvard Medical School พบว่า คนที่มีระดับความเครียดสูงและพักผ่อนน้อย มี “เทโลเมียร์” (ปลายโครโมโซม) สั้นลงเร็วกว่าปกติถึง 50% ซึ่งเทโลเมียร์เกี่ยวข้องกับอายุขัย สุขภาพหัวใจ ภูมิคุ้มกัน และการเสื่อมของอวัยวะในร่างกาย แปลว่า…คุณอาจแก่ก่อนวัย ทั้งที่ยังอายุไม่ถึง 40 ด้วยซ้ำ  แล้วถ้าคุณเริ่มลงทุนตั้งแต่วันนี้ จะได้อะไร?  อายุยืนขึ้นอย่างมีคุณภาพ (Healthy Longevity)  ทำงานได้นานขึ้นโดยไม่ล้า  ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาเป็นแสนตอนแก่  มีสมาธิ ความจำ และอารมณ์ดีขึ้น  มีชีวิตที่คุณ “ควบคุมได้” มากขึ้น ไม่ต้องเป็นภาระลูกหลาน  เริ่มต้นง่าย ๆ ได้เลยวันนี้:  นอน 7–8 ชม. ต่อคืน  ขยับร่างกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที  เลือกกินอาหารที่มีใยอาหาร ไขมันดี และโปรตีน  เสริมด้วยวิตามินหรือสมุนไพรที่มีงานวิจัยรองรับ (เช่น Ashwagandha, Omega-3, Magnesium)  ตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง  สุขภาพคือการลงทุน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายถ้าคุณรอจนมีอาการก่อน แล้วค่อยรักษา — วันนั้น “ร่างกายอาจไม่ให้คุณกู้คืน” ได้เต็ม 100 อีกแล้ว ลงทุนวันละ 50 บาทเพื่อสุขภาพ ดีกว่าต้องจ่าย 500,000 บาทกับโรคในอนาคต

Uncategorized

คอมบูชา” ดื่มตอนไหนได้ประโยชน์ที่สุด ? รู้ไว้ก่อนพลาดจุดพีคของเครื่องดื่มสายเฮลธ์ตัวนี้

ในปี 2025 นี้ คอมบูชา (Kombucha) ไม่ใช่แค่ชาเปรี้ยวสุดฮิป แต่เป็น “Functional Drink” ที่แพทย์และนักโภชนาการเริ่มแนะนำให้คนรุ่นใหม่ดื่มเพื่อสุขภาพ gut, สมอง และภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น   ดื่มตอนไหนดีที่สุด?เช้า – เพิ่มพลัง พร้อมคาเฟอีนเล็กน้อย  ก่อนอาหาร – ช่วยดูดซึมวิตามินให้ดียิ่งขึ้น ระหว่างมื้ออาหาร – เสริมการย่อยอาหารแบบธรรมชาติ ก่อนบ่ายสาม – เลี่ยงคาเฟอีนไปกวนการนอน ❝ ถึงไม่มีงานวิจัยที่ฟันธงว่าเวลาดื่มมีผลชัดเจน แต่หลายคนพบว่าอาการท้องอืดลดลง ช่วยขับถ่าย และรู้สึก “เบา” แบบไม่ฝืน ❞  ดื่มคอมบูชาแล้วได้อะไร?  จุลินทรีย์ดี (Probiotics) ที่ช่วยฟื้นฟู microbiome ในลำไส้  ลดน้ำตาลในเลือด – จากการทดลองในผู้ป่วยเบาหวาน  ลดคอเลสเตอรอลและบำรุงตับ – จากการศึกษาในสัตว์  กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และลดการอักเสบ  วิตามิน B, C, สังกะสี และพรีไบโอติกส์  ข้อควรรู้ก่อนดื่มห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบดื่ม ควรเลือกแบรนด์ที่ หมักสะอาด / ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ระวัง แอลกอฮอล์เล็กน้อย (จากการหมัก) และปริมาณคาเฟอีน

Uncategorized

รู้หรือไม่ว่า… ปลาร้าอีสานของไทยก็มีโพรไบโอติกส์ ไม่แพ้โยเกิร์ต กิมจิ หรือคอมบูชา

ในยุคที่คนทั่วโลกตื่นตัวกับเรื่อง Gut Health (สุขภาพลำไส้) และจุลินทรีย์ดีอย่าง Probiotics กลายเป็นคำฮิตในวงการสุขภาพและความงาม…คนไทยหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า…  “ปลาร้า” ที่เรากินกับส้มตำ หรือแซ่บกับข้าวเหนียวร้อน ๆ เนี่ยแหละ คืออาหารที่มี โปรไบโอติกจากธรรมชาติ แบบบ้าน ๆ ที่เวิร์กสุด ๆ  มีงานวิจัยรองรับ: ปลาร้าดีจริง ไม่ได้โม้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และจุฬาลงกรณ์ฯ ได้ศึกษาจุลินทรีย์ในปลาร้า พบว่า: มีจุลินทรีย์กลุ่ม Lactic Acid Bacteria โดยเฉพาะ Lactobacillus plantarum, Lactobacillus fermentum จุลินทรีย์เหล่านี้มีคุณสมบัติในการ: เพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้ (Gut Microbiota Diversity)  กระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว  ช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดอาการท้องผูก ท้องอืด  ส่งผลดีต่ออารมณ์ ผ่านการเชื่อมโยงของลำไส้กับสมอง (Gut–Brain Axis) แม้ในต่างประเทศจะยังพูดถึงแต่กิมจิ คอมบูชา หรือโยเกิร์ต… แต่ “ปลาร้า” ไทยก็มีสารพัดคุณไม่แพ้กัน!  ปี 2025: เทรนด์ใหม่ไม่ใช่แค่กินคลีน แต่ต้อง “กินหมัก”  ในปีนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและสุขภาพทั่วโลกพูดถึงคำว่า Fermented Food มากขึ้น เช่น: คอมบูชา = Probiotic Drink ของสายซอฟต์ นัตโตะ = อาหารหมักจากญี่ปุ่น กิมจิ = ราชาโปรไบโอติกส์จากเกาหลี แต่ปลาร้า = “โพรไบโอติกสายไทย” ที่ยังไม่แมส  เทรนด์ปี 2025 เริ่มพูดถึงการเอา ภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้าน กลับมาใช้เพื่อสุขภาพและปลาร้าคือ Hidden Gem ของอาหารหมักที่มีทั้ง รสชาติ และ คุณค่า  คำแนะนำในการกินปลาร้าให้ได้โพรไบโอติกส์กิน “ปลาร้าดิบ” ที่สะอาด ปรุงสด หรือหมักเองแบบอนามัย หากต้องต้ม ควรต้มแค่พอร้อน ไม่เดือดจัด เพื่อรักษาจุลินทรีย์ดีไว้บางส่วน ควรเลือกผลิตภัณฑ์จากโรงงานที่มีมาตรฐาน GMP / HACCP ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 2–3 ช้อนโต๊ะ เพื่อควบคุมโซเดียม

Scroll to Top